วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2


ศึกษาอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
 ส่วนที่ ๒ ความเสมอภาค
        - มาตรา ๓๐  บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง 
ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ  สถานะของบุคคล  ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรมหรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้
                มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิ และเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น  ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
 ส่วนที่ ๘ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
        - มาตรา ๔๙  บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
          - มาตรา ๖๘  บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
      ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
      มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
      มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
- บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1. มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
2. อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง  และ
3. มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง
                ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่นอกเขต เลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน  หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาน้อยกว่าเก้าสิบวันนับ ถึงวันเลือกตั้ง  หรือมีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักร  ย่อมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง 
- บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1. เป็นภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
4. วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
- คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส
1. จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วยกรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไปสามารถดำเนินการจดทะเบียนสมรสได้ด้วยตนเอง
2. ไม่เป็นคนวิกลจริตหรือไร้ความสามารถ
3. ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดามารดา
4. ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
5. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
6. หญิงหม้ายจะสมรสใหม่เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่กรณี
      - คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
      -สมรสกับคู่สมรสเดิม
      -มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
      -ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
      -ชายหญิง ที่มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
      - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช 2550  ถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศจึงมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยทุกคนตลอดจนอนาคตของประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง  ประชาชนชาวไทยทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญเนื่องจากเป็นเรื่องของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของพลเมือง แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตลอดจนการจัดระเบียบทางการเมืองและการปกครองของประเทศอันจะนำไปสู่การปฏิรูปทางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองและนำมาซึ่งความมั่นคงความรุ่งเรืองและความสามัคคีของบุคคลทุกฝ่าย
 5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
      -  ผมคิดว่าการที่รัฐบาลคิดจะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นไม่เห็นด้วยเพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นควรเอาหลักประชาธิปไตยและความคิดเห็นของประชาชนส่วนมากเป็นหลักไม่ควรนึกถึงผลประโยชน์ส่วนตัวหรือทำเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งและควรมีความยุติธรรมเป็นที่เชื่อถือได้ในสายตาของประชาชน

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภาสภา ผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่า
      - ผมคิดว่าอำนาจทั้ง 3 ได้แก่อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการต่างมีความสมดุลและความมั่นคงซึ่งกันและกันเพียงแต่ควรนึกถึงประชาชนเป็นหลักเพราะประชาชนต้องการความซื่อสัตย์สุจริตจากคนที่มีอำนาจในการปกครองและแก้ปัญหาระดับชาติเพราะถ้าหากบุคคลเหล่านี้ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตในหน้าที่การงานหรือคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัว ประชาชนก็จะหมดศรัทธากับอำนาจเหล่านี้และทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม ดังนั้นควรนึกถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1

คำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย


 - นิยามของคำว่า "หมิ่นประมาท"
  ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง 

-  นิยามของคำว่า "ผู้รับพินัยกรรม"
  ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม  

- นิยามของคำว่า "ทายาทโดยธรรม"
  ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย 

นิยามของคำว่า "ให้โดยเสน่หา"
  ให้โดยปราศจากเงื่อนไขและด้วยความเต็มใจของผู้ให้ 

-  นิยามของคำว่า "สินส่วนตัว"
  ทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนการสมรส 

-  นิยามของคำว่า "สินสมรส"
  เป็นทรัพย์สินที่มีขึ้นหลังจากการสมรส 

- นิยามของคำว่า "บุตรบุญธรรม"
  เป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม 

- นิยามของคำว่า "ซื้อขาย"
  สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย 

- นิยามของคำว่า "แลกเปลี่ยน"
สัญญาซึ่งคู่กรณีต่างโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้กันและกัน

 - นิยามของคำว่า "เช่าทรัพย์"
  สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้เช่าตกลงให้ บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใด อย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น 

-  นิยามของคำว่า "เช่าซื้อ"
  สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว
สัญญาเช่าซื้อ?นั้นถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ

-  นิยามของคำว่า "ยืมใช้สิ้นเปลือง"
  สัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิด ใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น
สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม 

-  นิยามของคำว่า "ยืมใช้คงรูป"
  สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืมให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว

- นิยามของคำว่า "ฝากทรัพย์"
  สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ฝาก ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับฝาก และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้ 

-  นิยามของคำว่า "ค้ำประกัน"
  สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ำประกัน? ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
อนึ่งสัญญาค้ำประกัน?นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำ ประกัน?เป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ 

-  นิยามของคำว่า "จำนอง"
  สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนอง?เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนอง? เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง?
ผู้รับจำนอง?ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง?ก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้ว หรือหาไม่

 ที่มา  : รับฟังความคิดเห็นด้านกฎหมายไทย Lawamendment ร่างกฎหมายใหม่ กฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน(ออนไลน์) สืบค้นจาก   http://www.lawamendment.go.th/ [10 พฤศจิกายน 2555].